top of page

วิธีหาความสุขกับ passion จากงานที่เราไม่ได้ชอบ (ตั้งแต่แรก)

เด็กจบใหม่หลายคน (รวมถึงเราด้วย) มักจะตามหา "งานที่ใช่" และจากปีที่ผ่านมา เราค้นพบว่าคนที่พัฒนาและเติบโตได้ คือคนทีหาความสุขและจังหวะการทำงานที่ลงตัวของตัวเองเจอ แม้งานนั้นจะไม่ใช่ passion ตั้งแต่แรกก็ตาม

.

ใครๆก็อยากได้งานที่ตรงใจกันแหละ

แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะโชคดีขนาดนั้น

แต่ว่าวันนี้ เราว่าเราค้นพบวิธีที่จะมีความสุขกับงาน (ที่เราไม่ได้ชอบตั้งแต่แรก) ได้แล้วล่ะ

.

สามสิ่งที่ทำให้คนเรามีความสุขกับงานที่ทำคือ

  1. Competence ความเชี่ยวชาญในงาน

  2. Autonomy อิสระในงาน

  3. Relatedness การผูกมิตร


1+2) Competence + Autonomy : #ความเชี่ยวชาญมาพร้อมอิสระ


เคยสังเกตมั้ยว่า เราจะชอบงานที่เรารู้สึกว่า “ทำได้” เพราะมันให้ฟีลว่าเราควบคุมมันได้ กลับกัน เราจะรู้สึกไม่ชอบถ้างานนั้นยากหรือลำบากเกินไป ยิ่งเป็นงานที่ไม่ได้ตรงกับความสนใจ แต่เพราะข้อจำกัดต้องมาทำ ยิ่งไม่ชอบไปกันใหญ่

.

อย่างเราทำงานเสิร์ฟอาหารที่แคนาดา (ซึ่งไม่เคยอยู่ในหัวเลยว่าชีวิตนี้จะมาจับงานนี้)

.

หน้าที่หลักคือ เอาจานอาหารจากในครัวมาใส่บนรถเข็นอาหาร แล้วไปเสิร์ฟบนโต๊ะอีกที

เป็นงาน routine ที่มีกิจวัตรซ้ำๆ มีกรอบขั้นตอน แลดูไม่มีอิสระในกระบวนงาน

.

แต่พอเราทำไปเรื่อยๆ จนคล่องขึ้น เราก็พบว่ามันจะมีบางจุดที่เป็นส่วนอิสระที่เราลงไปเล่นกับมันได้

.

สิ่งที่ทำให้เราเอนจอยกับการทำงานทุกวันมากที่สุดคือ เวลามีระเบิดออเดอร์

.

จุดท้าทายคือ

เมื่อลูกค้าสั่งอาหารพร้อมกันหลายๆโต๊ะ ในสมองต้องคำนวนแล้วว่าออเดอร์โต๊ะไหนไปพร้อมกันได้

แล้วจะวางจานทั้งหมด 20-30 กว่ารายการให้มันฟิตกันบนรถ เพื่อจะได้เข็นไปทีเดียวได้ยังไง

จะได้เดินทีเดียว เพื่อให้ประหยัดเวลาและเร็วสุด

.

เรื่องเล็กน้อย แต่เราชอบมาก รู้สึกเหมือนต่อจิ๊กซอว์ --- ถ้าทำได้ไม่คล่อง ก็จะโดนหัวหน้าบ่น (เพราะลูกค้ารอ) แต่ถ้าทำได้ดี จะรู้สึกเหมือนภูมิใจเหมือนพิชิตอะไรซักอย่าง พร้อมทำหน้าคูลๆ หันไปบอกหัวหน้าว่า My area is stable

.

เรารู้สึกว่าเป็นอะไรที่ท้าทายมากๆ

และส่วนนี้คือส่วนที่เรา “สามารถควบคุมได้” ภายใต้กรอบการทำงาน

.

ถ้าเป็นงานที่ชอบตั้งแต่แรก เราก็คงพร้อม “ให้เวลา” กับงานนั้นเต็มที่

.

แต่เมื่อเป็นงานที่เราไม่ชอบ (แต่จำเป็นต้องทำ) เราก็ต้อง "ให้โอกาสตัวเอง"ที่จะ“ให้เวลา” กับงานนั้นเหมือนกัน เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ และหาจุด ”อิสระ” ของตัวเองเจอ


3. Relatedness #ผูกมิตรเพื่อนร่วมงาน


ข้อนี้เป็นข้อที่ดีสุด เห็นผลสุดที่กลายเป็นทำให้เราอยากไปทำงานในทุกๆวัน

.

ตอนที่เราทำงานใหม่ๆ เราคิดแค่ว่ามาทำงาน หาเงิน กลับบ้าน เราไม่ได้ผูกมิตรกับใคร เพราะรู้สึกว่าคุยกับใคร เค้าก็ไม่ตอบ โดนเมินใส่ ทำให้แค่คิดว่าวันนี้ต้องไปทำงานก็เครียดแล้ว

.

แต่สิ่งที่เราทำผิดคือ เรา (ตอนนั้น) ไม่ได้คิดที่จะอยากรู้จักคนที่เราทำงานด้วยจริงๆต่างหาก หลังจากที่เราปรับความคิดใหม่ เราชวนคุยกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น ตั้งแต่คนทำงานหน้าร้าน ไปถึงคุณอาตักน้ำซุป คุณป้าหั่นผัก คุณลุงล้างจาน สาวหั่นผลไม้ หนุ่มหั่นเนื้อ

.

เราทำงานมาปีนึง แต่เพิ่งมีความกล้า เดินเข้าไปถามเค้าตรงๆว่า คนที่เราทำงานอยู่ด้วยทุกวันชื่ออะไร -- และคำที่คนอยากฟังมากที่สุด ก็คือชื่อของพวกเค้านั่นแหละ -- หลังจากนั้น ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปหมดเลย

.

จากในครัวที่เราเข้าไปแล้วรู้สึกเครียด กลายเป็นรอยยิ้ม -- ทักทายทุกคนที่เจอ คุยเล่นบ้าง (แม้มือกับเท้าจะระวิง)

.

บรรยากาศการทำงานที่ดี ทำให้งานที่ทำ #แม้จะหนักแต่ก็ไม่ลำบาก (ทุกวันนี้คือเดินเข้าไปแล้วให้คนในครัวสอนภาษากวางตุ้งกับจีนให้)

.

แม้งานครัวจะไม่ได้ตรงกับ passion เราตั้งแต่แรก

แต่เราก็รู้สึกสนุกและมีแรงใจไปทำงานเยอะมากกว่าแต่ก่อนในทุกๆวัน

.

.

ในหนังสือ So Good They Can’t Ignore You เขียนโดย Cal Newport ใช้ประโยคว่า

“Working right trumps finding the right work”#เพราะวิธีการทำงานที่ใช่สำคัญกว่าการหางานที่ใช่ .

ถ้าใครที่คิดว่าตัวเองกำลังไม่มีความสุขกับงานที่ทำอยู่ ลองไปปรับกันดูนะคะ และถ้าใครมีมายด์เซตไหนที่ทำแล้วเวิร์ค ก็ฝากแนะนำกันด้วยนะคะ

.

.

ส่วนตอนนี้เราใช้ชีวิตอยู่ที่แคนาดานะคะ รูปเซ็ตนี้จากแถว downtown ในตัวเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดาค่ะ

ถ้าใครอยากชมชีวิตในแคนาดาเพิ่ม

📷 IG: Puiionsunnyside

.

รับถ่ายภาพในแวนคูเวอร์ ติดต่อได้เลยค่า

Thai photographer based in Vancouver, Canada

#ช่างภาพไทยในแคนาดา #ช่างภาพไทยในแวนคูเวอร์ #บริการถ่ายภาพในแคนาดา

Comments


  • Facebook
  • Instagram
  • Youtube
  • LinkedIn

© 2023 by Puiionsunnyside

bottom of page